การติดตั้งและการใช้งาน Microsoft Virtual PC 2007

Microsoft Virtual PC 2007
Microsoft Virtual PC นั้น เป็นโปรแกรมจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ ขึ้นมาบนระบบคอมพิวเตอร์จริง ซึ่งคอมพิวเตอร์ที่ทำการจำลองขึ้นมานั้น โดยทั่วไปจะเรียกว่า Virtual Machine ซึ่งจะมีองค์ประกอบต่างๆ สามารถทำการติดตั้งซอฟต์แวร์ต่างๆ เหมือนกับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์จริงๆ ทุกประะการ

Microsoft Virtual PC เวอร์ชัน 2007 นี้ เป็นการพัฒนาต่อจากเวอร์ชัน 2004 ที่ออกมาก่อนหน้านี้ โดยการเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ รวมถึงปรับปรุงการทำงานให้มีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น และที่สำคัญทางไมโครซอฟต์ได้ให้ใช้งานตัวโปรแกรม Virtual PC 2007 โดยไม่มีค่าใช้จ่าย แต่อย่างไรก็ตาม ในส่วนของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่จะติดตั้งใช้งานบน Virtual Machine ที่สร้างขึ้นมานั้น ผู้ใช้ก็ยังจำเป็นต้องมีไลเซนส์ที่ถูกต้องอยู่ดี สำหรับรายละเอียดเรื่องไลเซนส์ในการใช้งานนั้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในหัวข้อ "ไลเซนส์การใช้งาน Microsoft Virtual PC" ด้านล่างของบทความนี้ครับ

ฟีเจอร์ใหม่ใน Microsoft Virtual PC 2007
1.รองรับการติดตั้ง Windows Vista เป็น โฮสต์
2.รองรับการติดตั้ง Windows Vista เป็น เกสต์
3.รองรับการติดตั้ง Windows Vista 64-bit เป็น โฮสต์
4.มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับ Virtual PC 2004

  
 
Host Computer System Requirements
สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะใช้ติดตั้งเป็นโฮสต์ Microsoft Virtual PC 2007 นั้น มีความต้องการระบบในด้านต่างๆ ดังนี้
1. Hardware
1.1 CPU แบบ x86-based หรือ x64-based ความเร็ว 400 MHz หรือ เร็วกว่า (1 GHz recommended) และมีหน่วยความจำระดับ 2 (L2 cache)สามารถใช้กับซีพียู AMD Athlon/Duron หรือ Intel Celeron, Pentium II/III/4/Core Duo/Cor 2 Duo และ Microsoft Virtual PC 2007 นั้น สามารถรันบนระบบแบบ Multi-CPU ได้ แต่จะสามารถรองรับ CPU ได้เพียงตัวเดียว
1.2 Memory สำหรับ memory นั้น ความต้องการจะขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งเป็น Guest OS โดยอ่านรายละเอียดได้จากหัวข้อ "Guest Operating System" ด้านล่าง
1.3 CD-ROM หรือ DVD drive
1.4 Super VGA (800 x 600) หรือ สูงกว่า (แนะนำ)
1.5 Keyboard และ mouse หรือ อุปกรณ์ pointing

2. Host Operating System
2.1 Windows Vista Business/Enterprise/Ultimate
2.2 Windows XP Professional/Tablet PC Edition

3. Guest Operating System
ระบบปฏิบัติการแต่ละตัวที่ติดตั้งเป็น Guest OS นั้น จะมีความต้องการใช้ Memory และ Disk space ของ Host OS ดังต่อไปนี้
Operating System (Minimum RAM/Minimum disk space)
3.1 Windows 98, Windows 98 Second Edition(Minimum RAM 64 MB/500 MB)
3.2 Windows Millennium Edition (Minimum RAM 96 MB/Minimum disk space 2 GB)
3.3 Windows 2000 Professional (Minimum RAM 96 MB/Minimum disk space 2 GB)
3.4 Windows XP Home Edition (Minimum RAM 128 MB/Minimum disk space 2 GB)
3.5 Windows XP Professional (Minimum RAM 128 MB/Minimum disk space 2 GB )
3.6 Windows Vista Enterprise (Minimum RAM 512 MB/Minimum disk space 15 GB)
3.7 Windows Vista Business (Minimum RAM 512 MB/Minimum disk space 15 GB)
3.8 Windows Vista Ultimate (Minimum RAM 512 MB/Minimum disk space 15 GB)

  
 
เริ่มต้นใช้งาน Microsoft Virtual PC 2007
สำหรับรายละเอียดการใช้งาน Microsoft Virtual PC 2007 นั้น สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอน 7 ขั้นตอนด้วยกัน ดังนี้
Step 1. Installation Microsoft Virtual PC 2007
Step 2. Create New Virtual Machine
Step 3. Virtual Machine Settings
Step 4. Guest OS Installation
Step 5. การใช้งาน Guest OS บน Virtual Machine
Step 6. Virtual Machine Additions
Step 7. ไลเซนส์การใช้งาน Microsoft Virtual PC 2007

Step 1. Installation Microsoft Virtual PC 2007
ขั้นตอนแรกนั้นคือ ทำการติดตั้ง Microsoft Virtual PC 2007 บนเครื่องโฮสต์คอมพิวเตอร์ สำหรับท่านที่ยังไม่ได้ทำการดาวน์โหลดตัวติดตั้งของ Microsoft Virtual PC 2007 ก็สามารถทำการดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ ศูนย์ดาวน์โหลดของไมโครซอฟต์ http://www.microsoft.com/downloads เมื่อทำการดาวน์โหลดเสร็จแล้ว จากนั้นให้ทำการติดตั้งตามขั้นตอน ดังนี้

1.ในโฟลเดอร์ที่เก็บโปรแกรมดังรูปที่ 1. ทำการดับเบิลคลิกที่ไฟล์ setup.exe


รูปที่ 1. โปรแกรมติดตั้ง Microsoft Virtual PC 2007

2.ในไดอะล็อก "Wellcome to the installation wizard for Microsoft Virtual PC 2007 ให้คลิก Next เพื่อเริ่มทำการติดตั้ง


รูปที่ 2. Microsoft Virtual PC 2007 Installation wizard

3.ในไดอะล็อก License Agreement ให้คลิก I accept the terms in the license agreement เพื่อยอมรับเงื่อนไขการใช้งาน เสร็จแล้วคลิก Next เพื่มทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Virtual PC 2007


รูปที่ 3. Microsoft Virtual PC 2007 License Agreement

4.ในไดอะล็อก Customer Information ให้ใส่ชื่อผู้ใช้ (Username) และชื่อหน่วยงาน (Organization) แล้วเลือก Install this application for: All users หรือ Only for me


รูปที่ 4. Customer Information

5.ในไดอะล็อก Ready to Install The Program ให้คลิก Install หากต้องการเปลี่ยนโฟลเดอร์สำหรับติดตั้งให้คลิก Change แล้วเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการ


รูปที่ 5. Ready to Install The Program

6.ระบบจะทำการติดตั้งโปรแกรม Microsoft Virtual PC 2007 ดังรูปที่ 6. ให้รอจนการติดตั้งแล้วเสร็จจะได้ไดอะล็อกดังรูปที่ 7. ให้คลิก Finish เพื่อจบการติดตั้ง Microsoft Virtual PC 2007


รูปที่ 6. Installing Microsoft Virtual PC 2007


รูปที่ 6. Installtion Completed

Step 2. Create New Virtual Machine
เมื่อทำการติดตั้ง Microsoft Virtual PC 2007 เสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ ทำการสร้าง Virtual Machine สำหรับใช้ในการติดตั้ง Guest OS ขึ้นมา โดยวิธีการสร้าง Virtual Machine นั้น มีขั้นตอนดังนี้

1. เปิดโปรแกรม Microsoft Virtual PC 2007 แล้วคลิกที่ New Virtual Machine จะได้ไดอะล็อกซ์บ็อกซ์วิซาร์ด ดังรูปที่ 7. ให้คลิก Next เพื่อเริ่มต้นทำการสร้าง New Virtual Machine


รูปที่ 7. New Virtual Machine Wizard

2. ในไดอะล็อกซ์บ็อกซ์ เวอร์ชวลแมชีนออปชัน ดังรูปที่ 8. ให้ทำการเลือกที่ Cretae a New Virtual Machine เพื่อทำการสร้างเวอร์ชวลแมชีนขึ้นมาใหม่ เสร็จแล้วคลิก Next


รูปที่ 8. New Virtual Machine Wizard Options

3.ในไดอะล็อกซ์บ็อกซ์ เวอร์ชวลแมชีนเนม ดังรูปที่ 9. ให้กำหนดชื่อให้กับเวอร์ชวลแมชีนที่จะสร้าง หากต้องการเก็บไฟล์เวอร์ชวลแมชีนไว้ในตำแหน่งดีฟอลท์ (โฟลเดอร์ My Virtual Machine ใน My Documents) ก็ให้คลิก Next แต่หากต้องการเปลี่ยนตำแหน่งที่จะเก็บไฟล์ ก็ให้คลิกที่ Browse จะได้ไดอะล็อกซ์บ็อกซ์ดังรูปที่ 10. แล้วเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเสร็จแล้วคลิก Save เพื่อบันทึกไฟล์ แล้วคลิก Next เพื่อไปยังขั้นตอนต่อไป


รูปที่ 9. Virtual Machine Name


รูปที่ 10. Virtual Machine Location

4. ในไดอะล็อกซ์บ็อกซ์ โอเปอร์เรตติงซีสเต็ม ดังรูปที่ 11. ทำการเลือกระบบปฏิบัติการที่จะติดตั้งบนเวอร์ชวลแมชีนเนมที่สร้างขึ้นมา (Guest OS) โดยการคลิกที่ดร็อปดาวน์ลิสต์ แล้วเลือกระบบปฏิบัติการที่ต้องการดังรูปที่ 12. เสร็จแล้วคลิก Next


รูปที่ 11. Virtual Machine Operating System


รูปที่ 12. New Virtual Machine Operating System

5.ในไดอะล็อกซ์บ็อกซ์ เมมมอรี ดังรูปที่ 13. ให้เลือก Using the recommended RAM ซึ่งจะเป็นการใช้ค่า memory ตามที่ระบบแนะนำ แต่ถ้าหากต้องการกำหนดค่าเอง ก็ให้เลือก Adjusting the RAM แล้วใส่ค่าที่ต้องการ เสร็จแล้วคลิก Next


รูปที่ 13. Memory Settings

6.ในไดอะล็อกซ์บ็อกซ์ เวอร์ชวลฮาร์ดดิสก์ออปชัน ดังรูปที่ 14. ให้เลือก A New virtual hard disk แต่หากต้องการใช้งาน virtual hard disk ที่มีอยู่แล้วก็ให้เลือกเป็น An existing virtual hard disk


รูปที่ 14. Virtual Hard Disk Options

7.ในไดอะล็อกซ์บ็อกซ์ เวอร์ชวลฮาร์ดดิสก์โลเคชัน ดังรูปที่ 15. หากต้องการใช้ค่าดีฟอลท์ให้คลิก Next เพื่อไปยังขั้นตอนต่อไป แต่ถ้าหากต้องการเปลี่ยนชื่อเวอร์ชวลฮาร์ดดิสก์หรือตำแหน่งที่จะใช้เก็บไฟล์ ก็ให้คลิกที่ Browse แล้วใส่ชื่อของเวอร์ชวลฮาร์ดดิสก์ และเลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการเสร็จแล้วคลิก Save เพื่อบันทึกไฟล์ จากนั้น ทำการกำหนดขนาดของเวอร์ชวลฮาร์ดดิสก์ในช่อง Virtual hard disk size แล้วคลิก Next เพื่อไปยังขั้นตอนต่อไป


รูปที่ 15. Virtual Hard Disk Location

8.ในไดอะล็อกซ์บ็อกซ์ถัดไป ดังรูปที่ 16. ให้คลิก Finish เพื่อจบขั้นตอนการสร้าง New virtual machine


รูปที่ 16. Finish New Virtual Machine Wizard

Step 3. Virtual Machine Settings
เมื่อทำการสร้าง Virtual Machine เสร็จเรียบร้อยแล้ว หากต้องการที่จะทำการปรับแต่งการตั้งค่าคอนฟิกต่างๆ ของ Virtual Machine ที่สร้างขึ้นมานั้น ตัวอย่างเช่น ได้ทำการเพิ่ม RAM ของเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้น แล้วต้องการเพิ่ม memory ให้กับ Virtual Machine ก็สามารถทำได้ โดยขั้นตอนการปรับแต่งการตั้งค่าคอนฟิกต่างๆ ของเวอร์ชวลแมชีน มีดังนี้

1. ทำการเปิดโปรแกรม Virtual PC Console ขึ้นมาดังรูปที่ 17. แล้วคลิกเลือก Virtual Machine ที่ต้องการ ในที่นี้จะเลือก XPSP2 ซึ่งเป็นเวอร์ชวลแมชีนที่สร้างในขั้นตอนที่ 2. ด้านบน (สำหรับท่านที่สร้าง Virtual Machine ในชื่ออืนๆ ก็ให้เลือกตามความเหมาะสมครับ)


รูปที่ 17. Virtual PC Console

2. ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Settings for XPSP2 หากต้องการเปลี่ยนชื่อเวอร์ชวลแมชีน ก็ให้คลิกเลือกที่ File name แล้วใส่ชื่อที่ต้องการในช่องหลัง File name ดังรูปที่ 18.


รูปที่ 18. Virtual Machine File name

3. หากต้องการเปลี่ยนการตั้งค่า Memory ของเวอร์ชวลแมชีน ให้คลิกเลือกที่ Memory แล้วใส่ค่าที่ต้องการในช่องหลัง RAM หรือปรับสไลด์บาร์ ดังรูปที่ 19.


รูปที่ 19. Virtual Machine Memory

4. หากต้องการเปลี่ยนการตั้งค่า Hard Disk ของเวอร์ชวลแมชีน ให้คลิกเลือกที่ Hard Disk แล้วบราวส์หาไฟล์ที่ต้องการ ดังรูปที่ 20.


รูปที่ 20. Virtual Machine Hard Disk

5. หากต้องการเปลี่ยนการตั้งค่าระบบเครือข่ายของเวอร์ชวลแมชีน ให้คลิกเลือกที่ Networking แล้วทำการกำหนดค่าที่ต้องการ ดังรูปที่ 21.


รูปที่ 21. Virtual Machine Network

Step 4. Guest OS Installation
เมื่อทำการตั้งค่าคอนฟิกต่างๆ ของ Virtual Machine ที่สร้างขึ้นมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือทำการติดตั้ง Guest OS ในที่นี้จะเป็นการติดตั้ง Windows XP Professional เป็น Guest OS ขั้นตอนดัง

1. ทำการเปิดโปรแกรม Virtual PC Console ขึ้นมาดังรูปที่ 22. ใส่แผ่น Windows XP Installation CD ในไดรฟ์ซีดีรอม แล้วคลิกเลือก Virtual Machine ที่ต้องการ ในที่นี้จะเลือก XPSP2 ซึ่งเป็นเวอร์ชวลแมชีนที่สร้างในขั้นตอนที่ 2. ปปปปปปxxxxx ด้านบน (สำหรับท่านที่สร้าง Virtual Machine ในชื่ออื่นๆ ก็ให้เลือกตามความเหมาะสมครับ) เสร็จแล้วคลิก Start


รูปที่ 22. Virtual PC Console

2. ให้คลิกเมนู CD แล้วคลิก Use Physical drive F: ที่เมนูบาร์ของหน้า Virtual PC Console เพื่อกำหนดให้ Virtual Machine จะทำการบูตระบบจากไดรฟ์ CD-ROM ดังรูปที่ 23.


รูปที่ 23. Use Physical drive F:

3. ระบบจะทำการติดตั้ง Windows XP Professional ดังรูปที่ 24, 25, และ 26 สำหรับขั้นตอนการติดตั้ง Windos XP อ่านได้จาก การติดตั้ง Windows XP Step by step


รูปที่ 24. Windows Setup


รูปที่ 25. Installaing Windows


รูปที่ 26. Windows restarting

4. เมื่อทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการ (ในที่นี้ติดตั้ง Windows XP Professional) แล้วเสร็จ ระบบจะทำการรีสตาร์ทระบบดังรูปที่ 27. เมื่อบูตเสร็จจะได้หน้าจอดังรูปที่ 28. ซึ่งสามารถใช้งานเหมือนกับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไปได้ ดังรูปที่ 33. ด้านล่าง ซึ่งเป็นการเปิดเว็บไซต์ http://www.google.com ด้วย Internet Explorer


รูปที่ 27. Windows starting up


รูปที่ 28. Windows XP Desktop

Step 5. การใช้งาน Guest OS บน Virtual Machine
ในการเปิดใช้งาน Virtual machine นั้น จะต้องทำจากหน้า Virtual PC Control จากนั้นทำการเปิด Virtual machine ตามขั้นดังนี้

1. ทำการเปิดโปรแกรม Virtual PC Console ขึ้นมาดังรูปที่ 29. แล้วคลิกเลือก Virtual Machine ที่ต้องการ ในที่นี้จะเลือก XPSP2 เสร็จแล้วคลิกปุ่ม Start


รูปที่ 29. Virtual PC Console


รูปที่ 30. Virtual Machine starting up

2. ระบบจะทำการรัน Virtual Machine ขึ้นมาเป็นระบบปฏิบัติการตามที่เราได้ติดตั้ง ในที่นี้คือ Windows XP Professional ดังรูปที่ 10. เมื่อระบบสตาร์ทเรียบร้อยแล้ว ก็จะสามารถใช้งานเหมือนกับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป ดังรูปที่ 31. ซึ่งเป็นการเปิดเว็บไซต์ http://www.google.com


รูปที่ 32. Windows XP Desktop


รูปที่ 33. Browsing Internet

3. เมื่อใช้งานแล้วเสร็จและต้องการปิดระบบ Virtual Machine เราสามารถเลือกได้ว่าจะทำการปิดระบบ (Turn off) ดังรูปที่ 34. โดยเมื่อ Turn off แล้วเสร็จจะได้หน้าต่างดังรูปที่ 29. หรือว่าทำการบันทึกสถานะเก็บไว้ (Save state) ดังรูปที่ 35. ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จจะได้หน้าต่างดังรูปที่ 36.

*ข้อแตกต่างคือ Turn off นั้นเหมือนกับการปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เวลาเปิดก็จะทำการสตาร์ทระบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลานานกว่าในการที่เครื่องจะพร้อมใช้งาน ในขณะที่ Save state นั้น เหมือนกับการสแตนด์บายเครื่องคอมพิวเตอร์ เวลาเปิดก็ไม่ต้องทำการสตาร์ทระบบใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะใช้เวลาน้อยกว่าในการที่เครื่องจะพร้อมใช้งาน


รูปที่ 34. Turn off


รูปที่ 35. Save state


รูปที่ 36. Saved state

4. หากต้องการรีเซต Virtual Machine ก็ให้ทำการคลิกที่เมนู Action บน Virtual PC Console แล้วคลิก Reset ซึ่งการรีเซตนั้นจะทำให้ข้อมูลที่ยังไม่ได้ทำการบันทึกจะหายไป โดย VPC จะแสดงข้อความแจ้งเตือนดังรูปที่ 37. ด้านล่าง


รูปที่ 37. Reset Virtual Machine

หมายเหตุ
ถึงตอนนี้ Virtual Machine ที่ทำการสร้างขึ้นมานั้น จะยังไม่สามารถทำการแลกเปลี่ยนไฟล์ (File adn Folder Sharing) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ จริงๆ ได้ โดยต้องทำการติดตั้ง Virtual Machine Additions ก่อน ตามรายละเอียดในหัวข้อถัดไป

Step 6. Virtual Machine Additions
เมื่อทำการติดตั้งระบบปฏิบัติการ (Guest OS) บน Virtual Machine เสร็จเรียบร้อยแล้วนั้น จะยังคงไม่สามารถทำการแลกเปลี่ยนไฟล์ (File adn Folder Sharing) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ จริงๆ ได้ โดยจะต้องทำการติดตั้ง Virtual Machine Additions ก่อน

Virtual Machine Additions นั้น จะช่วยในการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้งาน Virtual machine และเพิ่มฟีเจอร์ต่างๆ ให้กับ Guest OS เช่น การแชร์โฟลเดอร์ (Folder sharing)ซึ่งช่วยให้ทำการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่าง Virtual machine และ เครื่องคอมพิวเตอร์จริง และ การซิงน์โคไนเซซันเวลา (Time syncronization) ซึ่งช่วยในการตั้งเวลาของเครื่อง Virtual machine ให้ตรงกับระบบเครื่องคอมพิวเตอร์จริง โดยมีวิธีการติดตั้ง ตามรายละเอียดด้านล่าง

การติดตั้ง Virtual Machine Additions
วิธีการติดตั้ง Virtual Machine Additions นั้น ทำได้ไม่ยาก โดยมีวิธีการและขั้นตอน ดังนี้

1. ทำการสตาร์ท virtual machine แล้วรอจนการสตาร์ทแล้วเสร็จ
2. ในหน้าต่างของ virtual machne ให้คลิกที่เมนู Action แล้วเลือก Install or Update Virtual Machine Additions ดังรูปที่ 38.


รูปที่ 38. Update Virtual Machine Additions

3. ระบบจะแสดงหน้าข้อความดังรูปที่ 39. ให้คลิก Continue เพื่อไปยังขั้นตอนต่อไป


รูปที่ 39. Confirm update virtual machine additions

4. Virtual machine จะทำการเตรียมการติดตั้งดังรูปที่ 40.


รูปที่ 40. Preparing to install

5. จากนั้นในหน้า Welcome to Setup Virtual Machnie Additions ดังรูปที่ 41. ให้คลิก Next ระบบจะทำการติดตั้ง Virtual Machnie Additions ดังรูปที่ 42. ให้รอจนการติดตั้งแล้วเสร็จ


รูปที่ 41. Welcome to Setup Virtual Machnie Additions


รูปที่ 42. Installing Virtual Machnie Additions

6. ในหน้า Setup Completed ให้คลิก Finish ดังรูปที่ 43.


รูปที่ 43. Setup Completed

7. เมื่อทำการติดตั้ง Virtual Machnie Additions เสร็จแล้ว จะต้องทำการรีสตาร์ท virtual machine เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงมีผล โดยในหน้าไดอะล็อกซ์ดังรูปที่ 44. ให้ Yes เพื่อทำการรีตาร์ท virtual machine


รูปที่ 44. Restart virtual machine

หลังจากการรีสตาร์ทแล้วเสร็จก็จะสามารถใช้งานฟีเจอร์ต่างๆ ดังที่กล่าวมาด้านบนได้

Step 7. ไลเซนส์การใช้งาน Microsoft Virtual PC 2007
Microsoft Virtual PC 2007 นั้น ทางไมโครซอฟต์ ได้ให้ผู้ใช้ทั่วไป สามารถที่จะทำการดาวน์โหลด และใช้งานได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น นั้นคือ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเสี่ยค่าใช้จ่ายเรื่อง License ของตัวโปรแกรม Microsoft Virtual PC แต่อย่างไรก็ตาม ในการนำใช้งานจริงนั้น ผู้ใช้จำเป็นต้องมี License ของระบบปฏิบัติการ Guest OS ที่จะนำมาติดตั้งใช้งาน บนระบบ Virtual Machine ที่สร้างขึ้นบน Microsoft Virtual PC เหมือนกับการติดตั้งระบบปฏิบัติการ บนเเครื่องคอมพิวเตอร์จริงๆ เครื่องหนึ่ง โดยราคาและค่าใช้จ่ายที่ผู้ใช้ต้องเสียนั้น ก็จะขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ต้องการติดตั้งใช้งาน เช่น ถ้าใช้ระบบปฏิบัติการ Windows XP ก็มีราคาตั้งแต่พันบาทจนถึงหมื่นกว่าบาท (นั้นคือ หากคุณติดตั้งระบบปฏิบัติการ Windows XP บน Virtual Machine คุณก็ต้องทำการ Activate เหมือนกับการติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์จริงๆ เช่นกัน) แต่หากใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่อง License และสำหรับการใช้งานซอฟต์แวร์อื่นๆ บนระบบ Virtual Machine นั้น ก็จะเหมือนกันกับการใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์จริงๆ ทุกประการครับ

คำสั่งของการใช้งาน iMacro ครับ

ในการใช้งาน iMacro นั้น ควรรู้คำสั่งในการใช้งานครับ มีหลายๆอย่างที่ความสามารถของ iMacro มี และเราสามารถดึงมันมาใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ ตามความต้องการของเรา

รายการคำสั่งโดยละเอียดครับ

1. Command ที่สำคัญในการกำหนดเงื่อนไขและประกาศตัวแปร
1.1 Command บรรทัดแรกเป็นการประกาศ VERSION ของ iMacro ที่เราได้ทำการบันทึกหรือเขียนไว้
โค๊ด:
VERSION BUILD=6700624 RECORDER=FX
1.2 Command ที่กำหนดว่าจะให้ Macro กระทำกับ Tab ที่เท่าไร
โค๊ด:
TAB T=1
ใน กรณีที่เราเปิดใช้งาน Tab ใน Firefox Browser เอาไว้หลาย ๆ Tab และถ้าเราสั่งดำเนินการทันที iMacro ก็จะนับ Tab ปัจจุบันเป็น Tab ที่ 1 และนับ Tab อื่น ๆ เป็น Tab ที่ 2 ,3 ต่อไปเรื่อย ๆ ดังนั้นเราสวามารถกำหนดค่านี้เป็น TAB T=2 หรือ TAB T=3 ก็ได้
กรณีที่ไม่ต้องการให้เกิดความสับสนในการใช้ Tab คุณอาจจะเพิ่มคำสั่งด้านล่างเข้าไป เพื่อให้ Tab ที่ไม่เกี่ยวข้องถูกปิดไปทั้งหมด
โค๊ด:
TAB CLOSEALLOTHERS
1.3 Command ที่ใช้กำหนดให้ข้ามการดำเนินการที่ผิดพลาดและดำเนินการอย่างอื่นต่อไป
โค๊ด:
SET !ERRORIGNORE YES
SET !ERRORCONTINUE YES
Command 2 บรรทัดนี้นิยมใช้มากในกรณีที่สั่งให้ทำงานแบบ loop หรือมีการทำซ้ำหลาย ๆ รอบ เพราะจะช่วยให้การทำงานไม่จบลง เมื่อการทำงานยังไม่ครบตามที่ตั้งไว้
1.4 Command ที่ใช้ในการเรียกใช้ไฟล์ .csv
โค๊ด:
CMDLINE !DATASOURCE ชื่อไฟล์.csv
หรือ
โค๊ด:
SET !DATASOURCE ชื่อไฟล์.csv
หรือกรณีวางไฟล์เอาไว้นอก Folder Datasources เช่นวางไว้ที่ Drive D ก็ใช้คำสั่ง
โค๊ด:
SET !DATASOURCE D:\ชื่อไฟล์.csv
ไฟล์ .csv เป็นเหมือนเอกสารที่สามารถแบ่งข้อมูลออกเป็นแถวและหลักได้ ซึ่งสามารถเปิดแก้ไขในโปรแกรม MS Excel
และไฟล์ .csv จะถูกนำมาใช้ในกรณีที่ข้อมูลที่เราต้องการกรอกมีลักษณะทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งด้วยรูปแบบเดียวกัน
เช่น ถ้าเราต้องการกนอก URL +Username +password 50 ชุด เราก็สร้างไฟล์ .csv ขึ้นมา 1 ไฟล์ ที่มี 50 แถว และมี 3 คอลัมน์ ที่ประกอบด้วย URL  Username และ password
แล้วใช้คำสังใน iMacro เรียกใช้ข้อมูลจากไฟล์  สำหรับรายละเอียดการสร้างไฟล์ เรียกใช้ไฟล์ DATASOURCE และการเรียกใช้ไฟล์จากDatasources จะกล่าวรายละเอียดในบทความตอนที่ 3 ครับ

1.5 Command ที่เกี่ยวข้องกับการเรียกใช้งาน ไฟล์ .csv จาก Datasourse
Command ที่กำหนดการเรียกใช้ข้อมูลจาก Column ที่ 1 ถึง 3
โค๊ด:
SET !DATASOURCE_COLUMNS 3
เลข 3 คือจำนวน Column ที่เราจะเรียกใช้ข้อมูลอาจจะกำหนดเป็น 1 หรือ 9 ก็ได้ขึ้นอยู่กับข้อมูลนำเข้า
Command ที่กำหนดให้ทำซ้ำโดยใช้แต่ละแถวตัวแบ่งการดำเนินการแต่ละรอบของ LOOP
โค๊ด:
SET !DATASOURCE_LINE {{!LOOP}}
Command ที่กำหนดว่าการทำงานแบบ LOOP นั้นจะทำซ้ำตั้งแต่แถวใดในไฟล์ .csv จาก Datasourse
โค๊ด:
SET !LOOP 1
ถ้าใส่เลข 1 ก็แปลว่าเริ่มทำซ้ำจากบรรทัดที่ 1
1.6 Command ที่กำหนดเวลาในการโหลด Webpage
โค๊ด:
SET !TIMEOUT 30
เวลา ปกติที่ Macro จะรอการเปิดหน้า Webpage เป็น 60 วินาที แต่ถ้าเราต้องการเร่งเวลาก็อาจจะเพิ่มคำสั่งนี้ลงไปให้เป็น 30 วินาที (ใส่เลข 30 เหมือนในตัวอย่าง) เป็นต้น
1.7 Command ที่กำหนดเวลาในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน
SET !TIMEOUT_STEP 3
SET !TIMEOUT_TAG 3
คำ สั่งชุดนี้เป็นการกำหนด ให้รอการดำเนินการแต่ละขั้นตอนไม่เกิน 3 วินาที  สองคำสั่งนี้จะช่วยให้ Macro ทำงานเร็วขึ้น ซึ่งถ้าไม่ใช้ก็ไม่เสียหายอะไรเพราะค่าเดิมของ Macro จะตั้งไว้ที่ 6 วินาที
1.8 Command ที่เกี่ยวข้องกับการกรอก Password บน Webpage
ใช้ Command ด้านล่างเมื่อไม่ต้องการให้มีการ Lock หรือจดจำการใช้ Password (แนะนำให้ตั้งแบบนี้)
โค๊ด:
SET !ENCRYPTION NO
ใช้ Command ด้านล่างเมื่อต้องการให้มีการจดจำการใช้ Password ไว้ใน temporarily ในเครื่องของเราในขณะที่ run Macro อยู่
โค๊ด:
SET !ENCRYPTION TMPKEY
และใช้Command ด้านล่างเมื่อต้องการให้ใช้รหัสผ่านจากรหัสที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของคุณ (ในกรณีที่คุณบันทึกรหัสไว้บน Browser)
โค๊ด:
SET !ENCRYPTION STOREDKEY
1.9 Command ในการกำหนดค่าตัวแปร
ในการกำหนดค่าตัวแปรใน 1 Macro จะกำหนดได้ไม่เกิน 3 ตัวแปรซึ่งกำหนดได้โดยใช้ชุดคำสั่ง
โค๊ด:
SET !VAR1 ค่าตัวแปร1
SET !VAR2 ค่าตัวแปร2
SET !VAR3 ค่าตัวแปร3
ชุดคำสั่งด้านบนนี้จะใช้ในกรณีที่กำหนดตัวแปร 3 ตัวอาจจะกำหนดน้อยกว่านี้ก็ได้
และในการเรียกใช้ตัวแปรต่าง ๆ ทำได้โดยใช้โค้ด
โค๊ด:
{{!VAR1}}
โค๊ด:
TAG POS=1 TYPE=INPUT:TEXT FORM=ACTION:* ATTR=ID:email CONTENT={{!VAR3}}
หรือถ้าคัวแปรที่ 1 เป็นชื่อโดเมนก็อาจจะเรียกใช้โดยโค้ดด้านล่างเป็นต้น
โค๊ด:
URL GOTO=http://{{!VAR1}}

1.10 การใส่ Comment ใน Macro
การใส่ comment ใน Marcro สามารถใส่ได้ไม่จำกัดแต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเริ่มบรรทัดใหม่และนำด้วยเครื่องหมาย ‘
เช่น ดู comment บรรทัดสีเขียวในโค้ดด้านล่าง
โค๊ด:
TAG POS=1 TYPE=INPUT:TEXT FORM=ACTION:* ATTR=ID:homepage CONTENT=http://www.chaosiam.com
TAG POS=1 TYPE=INPUT:TEXT FORM=ACTION:* ATTR=ID:location CONTENT=USA
pause
'หยุดให้กรอก captcha ครับ กรอกแล้วกด Continue
2. Command ที่สำคัญในการกำหนดการดำเนินการ
TAG เป็นคำสั่งที่ใช้เลือก HTML ในหน้า Webpage ซึ่งจะใช้ Parameter  POS, TYPE, FORM  และ ATTR เป็นตัวตัดสินเลือก HTML บนหน้า Webpage ในแต่ละจุด
การดำเนินการในเต่ละขั้นตอนจะนำด้วย TAG และจะมาควบคู่กับ Parameter POS, TYPE, FORM  และ ATTR  เช่น
โค๊ด:
TAG POS=1 TYPE=SELECT FORM=NAME:form1 ATTR=NAME:select1 CONTENT=2
แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป และเราสามารถตัดการใช้ Parameter ที่ไม่จำเป็นทิ้งไปได้ดูรายละเอียดเพิ่มจากด้านล่าง
2.1 POS (POSITION)
เป็น Parameter ที่ใช้ระบุตำแหน่งในกรณีที่ใน Webpage นั้น ๆ มีส่วนที่ซ้ำกันมากกว่า 1 แห่ง เช่น
โค๊ด:
POS=1
2.2 TYPE
เป็น Parameter ที่ใช้ระบุชนิดของ HTML ที่เราจะกระทำบนWebPage นั้น ๆ เช่น
โค๊ด:
TYPE=SELECT
โค๊ด:
TYPE=INPUT:TEXT
โค๊ด:
TYPE=A
โค๊ด:
TYPE=INPUT:SUBMIT
โค๊ด:
TYPE=INPUT:CHECKBOX
ต่อ เนื่องจากบทความ สอนใช้งาน iMacros : ตอนที่ 1 วิธีติดตั้ง iMacros และใช้งานเบื้องต้น ผู้ที่ได้อ่านแล้วคงมีความเข้าใจในเบื้องต้น เกี่ยวกับการ หลักการทำงานของ iMacros ,วิธี record การทำงานบน Webpage และนำผลการบันทึกนั้นมาเปิดใช้งาน
IMacrosTutorial สอนใช้งาน Imacro สอนทำ SEO Blogger
ก่อน จะกล่าวอะไรต่อไปผมอยากให้ผู้อ่านลองถามตัวเองก่อนว่า  เครื่องมือนี้ (iMacros) มีประโยชน์กับตัวคุณจริงหรือไม่? คุณต้องการเรียนรู้การใช้งาน iMacros จริง หรือไม่? ถ้าคำตอบคือไม่ผมก็ขอให้ผ่านบทความชุดนี้ไปเลย เพราะบทความชุดนี้จะต้องอ่านและทดลองทำไปด้วยจึงจะเกิดความเข้าใจและเห็นผล หากอ่านผ่าน ๆ แล้วไม่ได้ทำก็จะไม่มีทางเข้าใจเรื่องเหล่านี้ และจะเป็นการเสียเวลากับตัวคุณเอง
สำหรับบทความนี้ผมจะนำเสนอเพิ่มเติมอีก 4 ประเด็นคือ
1. รูปแบบ Script และ Command ของ Macro  ใน iMacros เป็นอย่างไร?
2. Command ที่สำคัญ และที่ใช้งานบ่อย ๆ ใน Macro  ที่ควรรู้จัก
3. การแก้ไข Script และ Command ในแต่ละ Macro
4. การนำเข้า Macro จากภายนอก
รูปแบบ Script และ Command ของ Macro  ใน iMacros เป็นอย่างไร?
ใน บทความตอนที่ 1 ผมได้สอนให้บันทึกกิจกรรมที่เราทำซ้ำ ๆ ด้วย iMacros และบันทึกออกมา ถ้าคุณลอง Click ขวาที่ List ทางซ้ายมือและเลือก Edit Macro ก็จะเห็นคำสั่งการทำงานที่มีเพียงไม่กี่บรรทัด
iMacros2.1 สอนใช้งาน Imacros
ตัวอย่าง ในที่นี้ผมได้บันทึกการ Submit บทความกับ Digg เอาไว้ และเมื่อเปิดขึ้นมาดูก็จะเห็น Script ต่าง ๆ ดังนี้
VERSION BUILD=6700624 RECORDER=FX
TAB T=1
URL GOTO=http://digg.com/
TAG POS=1 TYPE=A ATTR=ID:header-login
TAG POS=1 TYPE=INPUT:TEXT FORM=ACTION:/login/prepare/digg ATTR=NAME:username CONTENT=username
SET !ENCRYPTION NO
TAG POS=1 TYPE=INPUT:PASSWORD FORM=ACTION:/login/prepare/digg ATTR=NAME:password CONTENT=password
TAG POS=1 TYPE=INPUT:SUBMIT FORM=ACTION:http://digg.com/login/prepare/digg ATTR=VALUE:Login
TAG POS=1 TYPE=A ATTR=TXT:Submit<SP>New
TAG POS=1 TYPE=INPUT:TEXT FORM=NAME:NoFormName ATTR=ID:url CONTENT=http://www.chaosiam.com/
TAG POS=1 TYPE=INPUT:RADIO FORM=ID:thisform ATTR=ID:type-news
TAG POS=1 TYPE=INPUT:SUBMIT FORM=ID:thisform ATTR=ID:submit_button
TAG POS=1 TYPE=INPUT:TEXT FORM=NAME:NoFormName ATTR=ID:title CONTENT=หัวเรื่อง
TAG POS=1 TYPE=TEXTAREA FORM=NAME:NoFormName ATTR=ID:body CONTENT=เนื้อหาโดยย่อ
TAG POS=1 TYPE=A ATTR=ID:topic-503
TAG POS=1 TYPE=INPUT:TEXT FORM=NAME:NoFormName ATTR=ID:captcha CONTENT=รหัสCaptcha
TAG POS=1 TYPE=INPUT:SUBMIT FORM=ID:submission-step-2 ATTR=ID:submit_button
TAG POS=1 TYPE=A ATTR=TXT:Logout
โค้ด ด้านบนนี้ผมไม่ได้เขียนขึ้นมาเอง แต่เป็นโค้ดที่ได้จากการ RECORD (บันทึก) กิจกรรมที่ทำขณะ Submit บทความกับ Digg ด้วย iMarcro ซึ่งคุณเองก็สามารถทำได้โดยใช้วิธีในบทความตอนแรกที่ได้สอนไปแล้ว  และในทางปฏิบัติผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นในจุดที่เป็นอักษรสีแดงของการบันทึกของ แต่ละคน และแต่ละครั้งจะไม่เหมือนกัน
จากตัวอย่างด้านบนจะเห็นว่า โค้ดที่ได้นั้นใช้ได้กับบทความเดียว เราจึงเกิดแนวคิดว่า ทำอย่างไร Macro ที่เราสร้างจะใช้งานได้ทุกครั้ง? และทำอย่างไรจะใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด?
คำตอบคือเราจะต้อง รู้จักโค้ดของ Macro ให้มากขึ้น (ซึ่งหมายความว่าเราไม่จำเป็นต้องทราบทั้งหมด) และแก้ไข ดัดแปลงโค้ดที่ได้จากการ RECORD ให้เป็น และที่สำคัญพลิกแพลงใช้งานให้เป็นด้วย
Command ที่สำคัญ และที่ใช้งานบ่อย ๆ ใน Macro  ที่ควรรู้จัก
ถ้า สรุปโค้ดของ  Macro ผมขอแยกเป็น 2 ส่วนย่อย ๆ คือ ส่วนแรกคือการกำหนดเงื่อนไขและประกาศตัวแปรและส่วนที่สองคือส่วนดำเนินการ และโปรดสังเกตว่า โค้ดของ  Macro ไม่จำเป็นต้องมีส่วนจบ ถ้าไม่มีการดำเนินการใด ๆ ต่อแล้ว iMacro จะหยุดทำงานโดยอัตโนมัติ
1. Command ที่สำคัญในการกำหนดเงื่อนไขและประกาศตัวแปร
1.1 Command บรรทัดแรกเป็นการประกาศ VERSION ของ iMacro ที่เราได้ทำการบันทึกหรือเขียนไว้
VERSION BUILD=6700624 RECORDER=FX
ในกรณีเราเขียนเองอาจจะไม่มีข้อความ RECORDER=FX ก็ได้  และในทางปฏิบัติโค้ดบรรทัดนี้ไม่จำเป็นต้องแก้ไข
1.2 Command ที่กำหนดว่าจะให้ Macro กระทำกับ Tab ที่เท่าไร
TAB T=1
ใน กรณีที่เราเปิดใช้งาน Tab ใน Firefox Browser เอาไว้หลาย ๆ Tab และถ้าเราสั่งดำเนินการทันที iMacro ก็จะนับ Tab ปัจจุบันเป็น Tab ที่ 1 และนับ Tab อื่น ๆ เป็น Tab ที่ 2 ,3 ต่อไปเรื่อย ๆ ดังนั้นเราสวามารถกำหนดค่านี้เป็น TAB T=2 หรือ TAB T=3 ก็ได้
กรณีที่ไม่ต้องการให้เกิดความสับสนในการใช้ Tab คุณอาจจะเพิ่มคำสั่งด้านล่างเข้าไป เพื่อให้ Tab ที่ไม่เกี่ยวข้องถูกปิดไปทั้งหมด
TAB CLOSEALLOTHERS
1.3 Command ที่ใช้กำหนดให้ข้ามการดำเนินการที่ผิดพลาดและดำเนินการอย่างอื่นต่อไป
SET !ERRORIGNORE YES
SET !ERRORCONTINUE YES
Command 2 บรรทัดนี้นิยมใช้มากในกรณีที่สั่งให้ทำงานแบบ loop หรือมีการทำซ้ำหลาย ๆ รอบ เพราะจะช่วยให้การทำงานไม่จบลง เมื่อการทำงานยังไม่ครบตามที่ตั้งไว้
1.4 Command ที่ใช้ในการเรียกใช้ไฟล์ .csv
CMDLINE !DATASOURCE ชื่อไฟล์.csv
หรือ
SET !DATASOURCE ชื่อไฟล์.csv
หรือกรณีวางไฟล์เอาไว้นอก Folder Datasources เช่นวางไว้ที่ Drive D ก็ใช้คำสั่ง
SET !DATASOURCE D:\ชื่อไฟล์.csv
ไฟล์ .csv เป็นเหมือนเอกสารที่สามารถแบ่งข้อมูลออกเป็นแถวและหลักได้ ซึ่งสามารถเปิดแก้ไขในโปรแกรม MS Excel
และไฟล์ .csv จะถูกนำมาใช้ในกรณีที่ข้อมูลที่เราต้องการกรอกมีลักษณะทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งด้วยรูปแบบเดียวกัน
เช่น ถ้าเราต้องการกนอก URL +Username +password 50 ชุด เราก็สร้างไฟล์ .csv ขึ้นมา 1 ไฟล์ ที่มี 50 แถว และมี 3 คอลัมน์ ที่ประกอบด้วย URL  Username และ password
iMacros Blogger SEO Facebook Tutorial
แล้วใช้ คำสังใน iMacro เรียกใช้ข้อมูลจากไฟล์  สำหรับรายละเอียดการสร้างไฟล์ เรียกใช้ไฟล์ DATASOURCE และการเรียกใช้ไฟล์จากDatasources จะกล่าวรายละเอียดในบทความตอนที่ 3 ครับ
1.5 Command ที่เกี่ยวข้องกับการเรียกใช้งาน ไฟล์ .csv จาก Datasourse
Command ที่กำหนดการเรียกใช้ข้อมูลจาก Column ที่ 1 ถึง 3
SET !DATASOURCE_COLUMNS 3
เลข 3 คือจำนวน Column ที่เราจะเรียกใช้ข้อมูลอาจจะกำหนดเป็น 1 หรือ 9 ก็ได้ขึ้นอยู่กับข้อมูลนำเข้า
Command ที่กำหนดให้ทำซ้ำโดยใช้แต่ละแถวตัวแบ่งการดำเนินการแต่ละรอบของ LOOP
SET !DATASOURCE_LINE {{!LOOP}}
Command ที่กำหนดว่าการทำงานแบบ LOOP นั้นจะทำซ้ำตั้งแต่แถวใดในไฟล์ .csv จาก Datasourse
SET !LOOP 1
ถ้าใส่เลข 1 ก็แปลว่าเริ่มทำซ้ำจากบรรทัดที่ 1
1.6 Command ที่กำหนดเวลาในการโหลด Webpage
SET !TIMEOUT 30
เวลา ปกติที่ Macro จะรอการเปิดหน้า Webpage เป็น 60 วินาที แต่ถ้าเราต้องการเร่งเวลาก็อาจจะเพิ่มคำสั่งนี้ลงไปให้เป็น 30 วินาที (ใส่เลข 30 เหมือนในตัวอย่าง) เป็นต้น
1.7 Command ที่กำหนดเวลาในการดำเนินการแต่ละขั้นตอน
SET !TIMEOUT_STEP 3
SET !TIMEOUT_TAG 3
คำ สั่งชุดนี้เป็นการกำหนด ให้รอการดำเนินการแต่ละขั้นตอนไม่เกิน 3 วินาที  สองคำสั่งนี้จะช่วยให้ Macro ทำงานเร็วขึ้น ซึ่งถ้าไม่ใช้ก็ไม่เสียหายอะไรเพราะค่าเดิมของ Macro จะตั้งไว้ที่ 6 วินาที
1.8 Command ที่เกี่ยวข้องกับการกรอก Password บน Webpage
ใช้ Command ด้านล่างเมื่อไม่ต้องการให้มีการ Lock หรือจดจำการใช้ Password (แนะนำให้ตั้งแบบนี้)
SET !ENCRYPTION NO
ใช้ Command ด้านล่างเมื่อต้องการให้มีการจดจำการใช้ Password ไว้ใน temporarily ในเครื่องของเราในขณะที่ run Macro อยู่
SET !ENCRYPTION TMPKEY
และใช้Command ด้านล่างเมื่อต้องการให้ใช้รหัสผ่านจากรหัสที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ของคุณ (ในกรณีที่คุณบันทึกรหัสไว้บน Browser)
SET !ENCRYPTION STOREDKEY
1.9 Command ในการกำหนดค่าตัวแปร
ในการกำหนดค่าตัวแปรใน 1 Macro จะกำหนดได้ไม่เกิน 3 ตัวแปรซึ่งกำหนดได้โดยใช้ชุดคำสั่ง
SET !VAR1 ค่าตัวแปร1
SET !VAR2 ค่าตัวแปร2
SET !VAR3 ค่าตัวแปร3
ชุดคำสั่งด้านบนนี้จะใช้ในกรณีที่กำหนดตัวแปร 3 ตัวอาจจะกำหนดน้อยกว่านี้ก็ได้
และในการเรียกใช้ตัวแปรต่าง ๆ ทำได้โดยใช้โค้ด
{{!VAR1}}
เช่น ถ้าผมต้องการเรียกใช้ตัวแปรที่ 3 ซึ่งผมกำหนดไว้เป็น email ก็เรียกใช้โดย
TAG POS=1 TYPE=INPUT:TEXT FORM=ACTION:* ATTR=ID:email CONTENT={{!VAR3}}
หรือถ้าคัวแปรที่ 1 เป็นชื่อโดเมนก็อาจจะเรียกใช้โดยโค้ดด้านล่างเป็นต้น
URL GOTO=http://{{!VAR1}}
1.10 การใส่ Comment ใน Macro
การใส่ comment ใน Marcro สามารถใส่ได้ไม่จำกัดแต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเริ่มบรรทัดใหม่และนำด้วยเครื่องหมาย ‘
เช่น ดู comment บรรทัดสีเขียวในโค้ดด้านล่าง
TAG POS=1 TYPE=INPUT:TEXT FORM=ACTION:* ATTR=ID:homepage CONTENT=http://www.chaosiam.com
TAG POS=1 TYPE=INPUT:TEXT FORM=ACTION:* ATTR=ID:location CONTENT=USA
pause
‘หยุดให้กรอก captcha ครับ กรอกแล้วกด Continue
การใส่ Comment ลงไปในลักษณะนี้ Macro จะเข้าใจว่าไม่ต้องนับการดำเนินการในขั้นนี้และข้ามไปบรรทัดอื่น
2. Command ที่สำคัญในการกำหนดการดำเนินการ
TAG เป็นคำสั่งที่ใช้เลือก HTML ในหน้า Webpage ซึ่งจะใช้ Parameter  POS, TYPE, FORM  และ ATTR เป็นตัวตัดสินเลือก HTML บนหน้า Webpage ในแต่ละจุด
การดำเนินการในเต่ละขั้นตอนจะนำด้วย TAG และจะมาควบคู่กับ Parameter POS, TYPE, FORM  และ ATTR  เช่น
TAG POS=1 TYPE=SELECT FORM=NAME:form1 ATTR=NAME:select1 CONTENT=2
แต่ก็ไม่จำเป็นเสมอไป และเราสามารถตัดการใช้ Parameter ที่ไม่จำเป็นทิ้งไปได้ดูรายละเอียดเพิ่มจากด้านล่าง
2.1 POS (POSITION)
เป็น Parameter ที่ใช้ระบุตำแหน่งในกรณีที่ใน Webpage นั้น ๆ มีส่วนที่ซ้ำกันมากกว่า 1 แห่ง เช่น
POS=1
2.2 TYPE
เป็น Parameter ที่ใช้ระบุชนิดของ HTML ที่เราจะกระทำบน Web Page นั้น ๆ เช่น
TYPE=SELECT
TYPE=INPUT:TEXT
TYPE=A
TYPE=INPUT:SUBMIT
TYPE=INPUT:CHECKBOX
เป็นต้น
2.3 FORM
เป็น Parameter ที่สั่งให้กระทำกับ Tag Form ของ HTML บน Web Page นั้น ๆ เช่น
โค๊ด:
FORM=NAME:TestForm2
ใน กรณีที่เราต้องการป้องกันความผิดพลาดจากเว็บไซต์ที่เปลี่ยนข้อมูล session ID แบบ ไดนามิก ได้ด้วย หรือพูดให้เข้าใจง่ายคือการเข้าถึงข้อมูลแต่ละครั้งบน Website นี้จะได้รหัสข้อมูลแตกต่างกัน ถ้าเราใช้ URL ที่บันทึกไว้ครั้งแรก ครั้งที่ 2 ที่เข้าไปอาจจะไม่พบ และ Macro จะไม่ทำงาน วึ่งแก้ปัญหานี้โดยใช้
โค๊ด:
FORM=ACTION:*
(เทคนิคนี้สำคัญมาก เหมาะเอาไปประยุกต์ใช้) เช่น
โค๊ด:
TAG POS=1 TYPE=INPUT:TEXT FORM=ACTION:* ATTR=ID:email CONTENT={{!VAR3}}
2.4 ATTRIBUTE หรือตัวย่อใช้ว่า ATTR
เป็น Command ที่ใช้ในกรณีที่เราดำเนินการเกี่ยวกับ Text Link หรือ URL
ตัวอย่างคำสั่งกับ Text Link
โค๊ด:
ATTR=TXT:some_name
ตัวอย่างคำสั่งกับ URL
โค๊ด:
ATTR=HREF:some_url
โปรดสังเกตว่าค่าที่ต่อท้ายจะเป็นชื่อ Link หรือ URL
2.5 CONTENT
เป็น Parameter ที่ใช้ระบุข้อมูลที่เป็นรายละเอียดในการใช้งานแต่ละครั้ง เช่น ชื่อ password email ,URL หรือบทความที่จะนำไป Submit ซึ่งถ้าเราเขียนสคริปต์เป็นแล้วเราจะสามารถเรียกข้อมูลที่เป็น Content มาจาก Datasource หรือจากค่าตัวแปรที่กำหนดได้
ตัวอย่างการระบุข้อมูล CONTENT โดยตรง (กรณีกรอกชื่อว่า hackublog)
โค๊ด:
CONTENT=hackublog
ตัวอย่างกาเรียกใช้ข้อมูล CONTENT จากตัวแปร (กรณีเรียกใช้ตัวแปรที่ 2)
โค๊ด:
CONTENT={{!VAR2}}
ตัวอย่างการเรียกใช้ CONTENT จากคอลัมน์ของไฟล์ .csv จาก Folder Datasource (กรณีเรียกใช้ข้อมูลจาก คอลัมน์ ที่ 3)
โค๊ด:
CONTENT={{!COL3}}
2.6 Command GOTO
เป็นคำสั่งให้ไปยัง URL ที่ระบุ เช่น
โค๊ด:
URL GOTO=http://www.chaosiam.com/
โค๊ด:
URL GOTO={{!COL1}}
โค๊ด:
URL GOTO={{!COL1}}/index.php?action=register
2.7 EXTRACT
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการกรณีที่ต้องการเก็บข้อมูลบน Webpage ในหลายกรณ๊เช่น
Extract Complete Website
โค๊ด:
'เก็บ Webpage ทั้งหน้า
TAG POS=1 TYPE=HTML ATTR=* EXTRACT=HTM
'เก็บ Webpage เฉพาะที่เป็น TEXT ทั้งหน้า
TAG POS=1 TYPE=HTML ATTR=* EXTRACT=TXT
'เก็บ Webpage เฉพาะส่วนหัว
TAG POS=1 TYPE=HEAD ATTR=* EXTRACT=HTM
'เก็บ Webpage เฉพาะส่วน BODY เท่านั้น
TAG POS=1 TYPE=BODY ATTR=* EXTRACT=HTM
Extract Page Title
โค๊ด:
URL GOTO=http://www.chaosiam.com/
TAG POS=1 TYPE=TITLE ATTR=* EXTRACT=TXT
ข้อมูลที่เก็บจะเป็นส่วน Title ของหน้า
Extract Page URL
โค๊ด:
ADD !EXTRACT {{!URLCURRENT}}
คำสั่งนี้สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้มากเพราะสามารถเก็บ URL ของหน้าที่เปิดได้
2.8 SAVEAS
เป็นคำสั่งที่ต้องการให้มีการบันทึกข้อมูลบนหน้า Webpage หรือข้อมูลที่ได้จากการ EXTRACT ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา เช่น
โค๊ด:
SAVEAS TYPE=EXTRACT FOLDER=* FILE==ชื่อไฟล์.csv
โค๊ด:
SAVEAS TYPE=CPL FOLDER=* FILE=+_{{!NOW:yyyymmdd_hhnnss}}
2.9 <SP>
เป็นโค้ดที่ใส่คั่นให้ข้อความใน Macro มีการเว้นวรรค
2.10 <BR>
เป็นโค้ดที่ใส่คั่นให้ข้อความใน Macro มีการขึ้นบรรทัดใหม่